เบนซีน, เตตร้าคลอโรเอทธีลีน, โทลูอีน, ไตรคลอโรอีเทน ไตรคลอโรเอทธีลีน และไซลีน

(Benzene, Tetrachloroethylene, Toluene, Trichloroethane, Trichloroethylene and Xylene)


ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ เบนซีน, เตตร้าคลอโรเอทธีลีน, โทลูอีน, ไตรคลอโรอีเทน, ไตรคลอโรเอทธีลีน และไซลีน, ประโยชน,์ สาเหตุการเกิดพิษ, ลักษณะอาการพิษจากเบนซีน, โทลูอีน และไซลีน, เตตร้าคลอโรเอทธีลีน ไตรคลอโรอีเทน, ไตรคลอโรเอทธีลีน, การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1 สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะโรเมติค ฮัยโดรคาร์บอน และ คลอริเนทเตท ฮัยโดรคาร์บอน
Aromatic Hydrocarbons
ได้แก่

- Benzene
- Toluene
- Xylene

Chlorinated Hydrocarbons ได้แก่

- Tetrachloroethylene หรือเรียก perchlorethylene
- 1,1,1 - trichloroethane
- Trichloroethylene หรือเรียก trichloroethene

Chlorinated hydrocarbons และ aromatic hydrocarbons ชนิดอื่น ๆ เช่น carbon tetrachlorite อาจจะมีพิษที่แตกต่างกันไป


2 ประโยชน์ :
- Benzene ถูกนำมาใช้ในขบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ ปรกติจะไม่ใช้สำหรับงานในครัวเรือนเท่าใดนัก
- Toluene และ Xylene ถูกนำมาใช้ในขบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ มากมาย เช่นกัน เช่น นำมาใช้เป็นตัวทำละลายในกาว (Glue) เป็นตัวทำละลายสำหรับสีและทินเนอร์ที่ใช้สำหรับครัวเรือนและในสถานประกอบการต่าง ๆ
- Tetrachloroethylene ใช้ในงานพาณิชย์ เช่น งานซักแห้ง (dry-cleaning)
- 1,1,1 - trichloroethane ใช้เป็นตัวทำความสะอาด และเป็นน้ำยาลบคำผิดในงานพิมพ์ดีด
- Trichloroethylene ถูกนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือนหลายชนิด เช่น ทำเป็นน้ำยาทำความสะอาดผนัง เสื้อผ้า และพรมเช็ดเท้า ทำเป็นน้ำยาลบคำผิด สี กาว น้ำยาซักแห้ง สารกำจัดแมลงและสารกำจัดโรคพืช เป็นต้น

3 สาเหตุการเกิดพิษ :
- สารเคมีดังกล่าวนี้ถ้าถูกกลืนกินหรือสูดดมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นสมองและหัวใจ เป็นต้น สำหรับอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับและไต ก็อาจมีผลกระทบหากได้รับพิษเฉียบพลัน (acute exposure) จากสาร tetrachloroethylene, trichloroethylene และ trichloroethane หรือได้รับพิษเรื้อรัง (chronic exposure) จากสาร toluene และ trichloroethylene ,หากร่างกายได้รับพิษเรื้อรังจาก benzeneจะมีผลกระทบต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงทำให้เกิดโรคโลหิตจาง (anaemia) ตามมาและอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งของเม็ดเลือดขาวหรือ leukemia สารเคมีเหล่านี้ในรูปของเหลวหากถูกตาหรือผิวหนังจะเกิดอาการระคายเคืองและเป็นสาเหตุของน้ำท่วมปอด (lung oedema) ถ้าถูกกลืนกินเข้าไป นอกจากนี้ไอของสารพิษยังระคายเคืองต่อตา จมูก และคอ ไอของ Toluene และ Xylene อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำท่วมปอด ฉะนั้น สารเคมีทุกชนิดดังกล่าวจะเกิดเป็นพิษถ้าหายใจสูดดมหรือกลืนกินเข้าไป การได้รับพิษอย่างเฉียบพลันอาจทำให้เสียชีวิตทันที ถ้าหายใจหรือสูดดมบ่อยๆ จนเป็นนิสัยอาจติดสารเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

4 ลักษณะอาการพิษจากเบนซีน (Benzene)
พิษเฉียบพลัน (Acute exposure)
ถ้าหายใจหรือกลืนกินสารพิษ : จะมีอาการดังต่อไปนี้ :
- มีอารมณ์เคลิบเคลิ้ม
- อ่อนเปลี้ย
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- ตาพร่ามั่ว
- ระคายเคือง จมูกและตา
- สั่น
- การเคลื่อนไหวไม่ประสานกัน
- หายใจไม่ค่อยออก
- การเต้นของชีพจรไม่สม่ำเสมอ
- หมดสติ
- ชัก
- น้ำท่วมปอด
ถ้าสารพิษสัมผัสผิวหนัง :
- ผิวหนังแดง
- ต่อมาผิวหนังจะแห้ง และมีเม็ดเป็นตุ่มพุพองบนผิวหนัง
ถ้าสารพิษเข้าตา :
- มีอาการปวดตา
- ตาแดง และมีน้ำตาไหล
- ผู้ป่วยไม่กล้ามองแสง เนื่องจากตาอักเสบมาก

พิษเรื้อรัง (Chronic exposure)
ถ้าหายใจเอาสารพิษเข้าไป : จะมีอาการดังนี้ :-
- ปวดศีรษะ
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
- เบื่ออาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเปลี้ย
ถ้าสารพิษถูกผิวหนัง :
- ผิวหนังแห้ง
- เม็ดพุพอง มีตุ่มใสเล็กเกิดขึ้นบนผิวหนัง

5 ลักษณะอาการพิษจากToluene และ Xylene
พิษเฉียบพลัน (Acute exposure)
ถ้าหายใจเอาสารพิษเข้าไป : จะมีอาการดังนี้ :-
- มีอาการตื่นเต้น เคลิบเคลิ้ม ปวดศีรษะ
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อ่อนเปลี้ย
- เซื่องซึม
- เดินโซเซ หรือเดินส่าย (Staggering walk)
- จิตสับสน
- ระคายเคืองตา จมูก และคอ
- หมดสติ
- น้ำท่วมปอด
- ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ
- หัวใจและการหายใจอาจหยุดทำงาน
ถ้ากลืนกินสารพิษ : จะมีอาการดังนี้:-
- อาเจียนและอุจจาระร่วง
- น้ำท่วมปอดและอื่น ๆ มีอาการเหมือนกับอาการที่เกิดจากการหายใจเอาสารพิษเข้าไป

ถ้าสารพิษสัมผัสถูกผิวหนังและตา :
- จะมีอาการเช่นเดียวกับอาการที่ได้รับพิษจากเบนซีน (Benzene)

6 ลักษณะอาการพิษจาก Tetrachloroethylene, Trichloroethane และ Trichloroethylene
ถ้าหายใจเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกาย : จะมีอาการดังนี้ :-
- คลื่นไส้และอาเจียน
- มีอาการเคลิบเคลิ้ม
- ปวดศีรษะและจิตสับสน
- ตาลาย
- อ่อนเปลี้ย
- เซื่องซึม
- สั่น
- ชัก
- หมดสติ
- ความดันโลหิตต่ำ
- ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ
- ตับและไตถูกทำลาย
- ระคายเคืองตา, จมูกและคอ
- หัวใจและการหายใจอาจหยุดทำงาน
ถ้ากลืนกินสารพิษ: จะมีอาการดังนี้:-
- อาเจียนและอุจจาระร่วง
- น้ำท่วมปอดและอาการอื่น เหมือนกับอาการพิษที่เกิดขึ้นจากการหายใจ
ถ้าสารพิษสัมผัสผิวหนังและนัยน์ตา
- จะมีอาการพิษเช่นเดียวกับพิษที่เกิดจากเบนซีน
พิษเรื้อรัง (Chronic exposure)
ถ้าหายใจสูดดมสารพิษอยู่เป็นประจำ: จะมีอาการปรากฏดังนี้ :-
- น้ำหนักลด คลื่นไส้และเบื่ออาหาร
เหนื่อยง่าย
- บางรายตับและและไตถูกทำลาย
- เกิดเป็นโรคหัวใจตามมาภายหลัง

ถ้าหายใจเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกายบ่อยครั้ง : จะมีอาการดังนี้ :-
- กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย
- ปวดบริเวณท้องน้อย อาเจียนเป็นเลือด
- สมองถูกทำลาย
- ตับและไตถูกทำลาย

7 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น :
ถ้าสารพิษเข้าตา : ล้างตาด้วยน้ำสะอาด เป็นเวลาอย่างน้อย 15-20 นาที
ถ้าสารพิษสัมผัสผิวหนัง :ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที รวมทั้งรองเท้า ถุงเท้า และเครื่องประดับต่าง ๆ ล้างผิวหนังบริเวณที่สัมผัสสารพิษด้วยสบู่ และน้ำเย็น หรือน้ำประปาเป็นเวลา 15 นาที และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีหากผู้ป่วยกลืนกินสารพิษหรือหายใจเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกาย พยายามให้ผู้ป่วยนอนลงอย่าปล่อยให้ผู้ป่วยยืนเนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจตามมาได้

เอกสารอ้างอิง: Henry JA, Wiseman HM. Management of poisoning. WHO:Geneva;1997:158-62.


เขียนและเรียบเรียงโดย : ประพันธ์ เชิดชูงาม,วทบ, สม, ศุภชัย รัตนมณีฉัตร, พบ, สาขาพิษวิทยา อาชีวเวชศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม, ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
(C)sipcn@mahidol.ac.th

<<<<<<<<<<กลับด้านบน<<<<<<<<<<